ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
2 การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน จะดำเนินการโดยคณะกรรมการปรองดอง (ในขั้นปรองดอง) หรือคณะกรรมการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน (ในขั้น พ.ร.ฎ.) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่งตั้งประกอบด้วย
- ผู้แทนของเจ้าหน้าที่หนึ่งคน
- ผู้แทนกรมที่ดินหนึ่งคน
- ผู้แทนของหน่วยงานอื่นของรัฐหนึ่งคน
- ผู้แทนสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน
3. การกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์จะกำหนดให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
3.1 เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องถูกเวนคืน
3.2 เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา หรือได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลังโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
3.3 ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในที่ดินที่ต้องเวนคืน แต่การเช่านั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา หรือได้ทำขึ้นภายหลังโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่และการเช่านั้นยังมิได้ระงับไปในวันที่ เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ที่ได้เข้าครอบครองที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว แต่เงินทดแทน ในการเช่านี้พึงกำหนดให้เฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดินโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวก่อนสัญญาเช่าระงับ
3.4 เจ้าของต้นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดินในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
3.5 เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนได้ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้น ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
แต่ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งจำต้องรื้อถอนโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไป เมื่อได้รับแจ้งจากเจ้าของที่ดินเงินค่าทดแทน ตามข้อ 3.5 นี้ ถึงกำหนดให้เฉพาะค่ารื้อถอน ค่าขนย้ายและค่าปลูกสร้างใหม่ (ในสภาพเดิม)
3.6 บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นตามมาตรา 1349 หรือมาตรา 1352 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในกรณีที่บุคคลเช่นว่านั้น ได้จ่ายค่าทดแทนในการใช้สิทธิดังกล่าวให้แก่เจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืนแล้ว
4. การกำหนดค่าทดแทนจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยคำนึงถึง
4.1 ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
4.2 ราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่
4.3 ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
4.4 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น
4.5 เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน
4.6 การได้ประโยชน์และเสียประโยชน์จากการเวนคืน
4.7 ค่าทดแทนความเสียหายที่ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนหน่วยงานของรัฐจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ได้ เมื่อพิสูจน์ได้ว่าค่าเสียหายนั้นมีอยู่จริง โดยมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริงตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
5. การปิดประกาศราคาที่กำหนด
เมื่อคณะกรรมการได้กำหนดราคาค่าทดแทนแล้ว จะปิดประกาศไว้ตามสถานที่เดียวกันกับที่ปิดประกาศ พ.ร.ฎ. ในข้อ 2
6. การจัดทำบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขาย
เมื่อคณะกรรมการฯ ได้กำหนดค่าทดแทนแล้ว เจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของทรัพย์สินมาทำบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขาย
7. การจ่ายเงินค่าทดแทน
เมื่อทำบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายแล้ว หน่วยงานของรัฐต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดให้แก่เจ้าของทรัพย์สิน ภายใน ๑๒๐ วัน เมื่อประกาศใช้ พ.ร.ฎ. และมีประกาศกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนแล้ว หากเจ้าของทรัพย์สินไม่ยินยอมจัดทำบันทึกข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขาย หรือยินยอมจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายแต่ไม่มารับเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลา เจ้าหน้าที่จะนำเงินไปวางต่อศาลหรือต่อสำนักงานวางทรัพย์ หรือนำเงินไปฝากธนาคารออมสินในชื่อของผู้มีสิทธิ์ได้รับค่าทดแทน ถ้าเจ้าของทรัพย์สินไม่ร้องขอรับเงินภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้นำเงินวาง ต่อศาล หรือต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากธนาคารออมสิน เงินค่าทดแทนนั้นจะตกเป็นของแผ่นดิน
8. การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อครอบครองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
8.1 กรณีทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขาย ถ้าเจ้าของไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เจ้าหน้าที่มีสิทธิที่จะรื้อถอนได้ตามบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขาย
8.3 กรณีไม่ทำบันทึกข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายเจ้าหน้าที่จะดำเนินการวางเงิน แจ้งครอบครองและรื้อถอนตามกฎหมายต่อไป